โรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของสมองชนิดหนึ่งที่พบบ่อยที่สุด โดยจะมีการเสื่อมของเซลล์สมองทุกส่วน โดยมีผลกระทบต่อความจำ ความคิด พฤติกรรม รวมถึงการใช้ภาษา การประสานงานของกล้ามเนื้อเสียไป ในระยะแรกผู้ป่วยจะยังคงสามารถทำกิจวัตรประวันที่เคยทำเป็นประจำได้ เช่น อาบน้ำ แปรงฟัน รับประทานอาหาร ขับถ่าย เป็นต้น ภาวะความจำเสื่อมจะมีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะสุดท้ายของโรคจะสูญเสียความจำทั้งหมด

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์เกิดจากการฝ่อของสมอง เซลล์ประสาทหยุดการทำงาน ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและการทำงานของสมอง ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่าการฝ่อตัวของสมองเกิดขึ้นจากสาเหตุใด แต่พบในสมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์มีการสะสมของอะไมลอยด์พลัค (Amyloid Plaques) ซึ่งเป็นสารโปรตีนผิดปกติชนิดหนึ่ง สะสมอยู่ในเซลล์ประสาท และมีกลุ่มใยประสาทที่พันกันและค่อยๆถูกทำลาย เมื่อเวลาผ่านไป ความเสียหายของสมองและแพร่กระจายไปสู่สมองส่วนต่างๆ

ปัจจัยอื่นๆที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์

- อายุ คือปัจจัยสำคัญของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ จากสถิติพบว่าร้อยละ 25 ของผู้มีอายุ 85 ปี

- กรรมพันธุ์ สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบว่าถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ลูกมีโอกาศเสี่ยงต่อการโรคอัลไซเมอร์ 50% ผู้ป่วยกลุ่มนีัจะเกิดอาการ                เมื่ออายุ 40 – 60 ปี

- โรคเรื้อรัง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น

- ความผิดปกติในเนื้อสมอง อุบัติเหตุที่สมอง หรือสมองได้รับบาดเจ็บ

- พฤติกรรม การใช้ชีวิตประจำวันของคนบางกลุ่ม ที่มักใช้ชีวิตเรื่อยเปื่อย ไม่ได้ฝึกพัฒนาความคิด

อาการของโรคอัลไซเมอร์สามารถแบ่งได้ 3 ระยะ

- ระยะเริ่มแรก ผู้ป่วยมีความบกพร่องในเรื่องของการจดจำข้อมูล อาการหลงลืม เช่น ลืมเหตุการณ์หรือบทสนทนาที่เพิ่งเกิดขึ้น ลืมปิดประตู ลืมชื่อคน กระทำอะไรซ้ำๆ ย้ำๆ ความสามารถในการตัดสินใจลดน้อยลง ลังเล สับสนที่จะทำอะไรใหม่ เป็นต้น

- ระยะที่สอง ผู้ป่วยจะสูญเสียความทรงจำในระยะสั้น ความรู้ความสามารถจะค่อยๆบกพร่องไป อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด รวมทั้งมีภาวะซึมเศร้า ไม่สามารถจดจำชื่อบุคคล คนในครอบครัว สถานที่ ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ต้องได้รับการช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร การแต่งตัว หรือการเข้าห้องน้ำ

- ระยะที่สาม ผู้ป่วยจะสับสน สูญเสียความทรงจำ การใช้ภาษาการสื่อสาร จนกระทั่งไม่สามารถพูดหรือสื่อสารได้เลย ผู้ป่วยระยะนี้ต้องได้รับการดูแลตลอด เนื่องจากไม่สามารถทำกิจกรรมใดๆได้เลย ทั้งการอาบน้ำ รับประทานอาหาร การขับถ่าย การเดินหรือแม้กระการนั่ง หากไม่มีผู้ดูแล ผู้ป่วยจะนอนนิ่งๆอยู่บนเตียงตลอดเวลา ซึ่งอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ เช่น การติดเชื้อของแผลกดทับ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ระบบเกลือแร่ขาดสมดุล เป็นต้น

การดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์
การดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว

- ควรปรับสถานที่ จัดห้อง หรือบ้านให้น่าอยู่ เอื้อต่อตัวผู้ป่วย ให้สามารถใช้ชีวิตได้งายขึ้น

- เก็บสิ่งของมีคม หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่อาจทำให้เกิดอันตรายให้มิดชิด

- พาผู้ป่วยไปพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ เพื่อติดตามประเมินอาการ หรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

- ควรหากิจกรรม ทำร่วมกับผู้ป่าวย เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับผู้ป่วย ผ่อนคลายความวิตก กังวล

การป้องกันโรคอัลไซเมอร์
คำแนะนำสำหรับการดูแลตนเอง เพื่อชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์

- การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้สด ธัญพืช น้ำมันมะกอก ปลา รวมถึงอาหารที่ให้โปรตีน วิตามินบี 12 , วิตามินซี และกรดโฟลิคสูง เป็นต้น เพื่อบำรุงระบบประสาทและสมอง เพิ่มประสิทธิภาพของสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ

- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารหวานจัดหรือเค็มจัด เนื่องจากอาหารกลุ่มนี้มีความเสี่ยงทำให้เกิดโรคเบาหวาย โรคไต และโรคความดันโลหิตสูง

- ทำกิจกรรมต่างๆที่ให้สมองได้ฝึกการคิด เช่น การอ่านนั่ง เล่นเกมส์ หรือกิจกรรมที่ไม่เคยทำมาก่อน เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและสมอง

- พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ